ฉบับที่ 1/2557 โดย คณะกรรมการจัดการความปลอดภัยของภาควิชาเคมี

 

สวัสดีอาจารย์และนิสิตเคมีทุกท่าน

          คณะกรรมการความปลอดภัยภาควิชาเคมี ได้จัดการอบรมการป้องกันอัคคีภัยประจำปี 2556 ไปเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ผ่านมา แบ่งการอบรมเป็น 2 ช่วง โดยช่วงเช้าเป็นการบรรยายเรื่องการดับเพลิงและการใช้เครื่องดับเพลิงเคมี ส่วนช่วงบ่ายเป็นการลงมือปฏิบัติจริง ได้แก่การฝึกหนีไฟ การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย และการฝึกดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิง มีนิสิตและบุคลากรเข้าร่วมกันอย่างพร้อมเพรียงจำนวน 66 คน ทางคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ขอขอบคุณในความร่วมมือของทุกๆท่านมา ณ ที่นี้ด้วย

Description: https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn2/t31.0-8/1518606_589046541169729_563187526_o.jpg

นิสิตฟังบรรยายก่อนลงมือฝึกดับเพลิงจริง

Description: https://fbcdn-sphotos-c-a.akamaihd.net/hphotos-ak-prn1/t31.0-8/1540324_589049414502775_723524527_o.jpg

“เล่นกับไฟ” บางครั้งสุภาษิตไทย ก็ต้องมีข้อยกเว้นบ้าง

          ส่วนเรื่องต่อไปที่ทางคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ต้องการนำมาเล่าสู่กันฟังก็คือ สรุปรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในภาควิชาเคมีช่วงเดือน มกราคม-เมษายน 2557 โดยมีรายงานอุบัติเหตุทั้งสิ้น 3 ครั้ง ดังนี้

1.      เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2557 เจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการเคมี เดินสะดุดเก้าอี้ล้ม หัวไหลหลุด ดังนั้นนิสิตต้องพึงระวังถึงการวางอุปกรณ์ต่างๆในห้องปฏิบัติการใหเป็นระเบียบไม่ให้ขวางทางเดิน

2.      เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2557 ท่อน้ำใต้ตู้ดูดควันรั่ว ทำให้เกิดน้ำไหลออกมาท่วมขังทั้งภายในและภายนอกห้องปฏิบัติการ ซึ่งสาเหตุคาดว่าเกิดจากการเก็บสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนไว้ใต้ท่อน้ำ 

3.      เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2557 มีการเก็บ dry ice ที่เหลือจากใช้ทำปฏิกิริยาในภาชนะที่มีฝาเกลียวปิด เป็นกระติกน้ำร้อนแบบ thermos เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการระเหิดของ CO2 ทำให้ความดันภายในเพิ่มสูงมากไม่สามารถเปิดฝา thermos ได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดการระเบิดของภาชนะที่บรรจุ ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดอันตรายรุนแรงได้ ผู้ประสบเหตุไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง จึงได้แจ้งให้ทางประธานคณะกรรมการความปลอดภัยฯ (ศ.ดร. ธีรยุทธ วิไลวัลย์) และคุณศักดิ์ชาย จันทร์หงษ์ มาทำการเก็บกู้ได้อย่างปลอดภัย บทเรียนสำคัญที่ได้จากกรณีศึกษานี้คือ ไม่ควรเก็บสารที่ระเหิดได้ เช่น dry ice หรือ liquid N2  ในภาชนะที่มีฝาเกลียวปิด แม้ว่าจะมั่นใจว่าไม่ได้ปิดฝาแน่น แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อเกิดการระเหิด แก๊สจะไปดันให้เกิดการปีนเกลียวของฝาและเปิดไม่ออกในที่สุด ดังนั้นควรใช้ภาชนะที่ออกแบบมาโดยเฉพาะในการเก็บ ส่วนอีกบทเรียนคือหากนิสิตประสบเหตุที่คิดว่าไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองแล้วให้รีบปรึกษาอาจารย์ หรือคณะกรรมการความปลอดภัยฯ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา

Description: C:\Users\Panuwat\AppData\Local\Microsoft\Windows\Temporary Internet Files\Content.Word\IMG_2755.jpg

กระติกน้ำร้อนแบบ thermos ที่(เกือบ)ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

          ข้อมูลอุบัติเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น รวบรวมมาจากแบบรายงานอุบัติเหตุของภาควิชาเคมี ดังนั้นวัตถุประสงค์สำคัญของแบบรายงานอุบัติเหตุจึงไม่ใช่การจดบันทึกเพื่อลงโทษผู้ก่ออุบัติเหตุ แต่เป็นการถ่ายทอดบทเรียนอันมีค่าต่อผู้อื่นเพื่อที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เดียวกันซ้ำขึ้นอีก และเพื่อเป็นการเตือนความจำ นิสิตสามารถดาวน์โหลดแบบรายงานอุบัติเหตุได้จาก http://www.chemistry.sc.chula.ac.th/safety/safety.shtml และต้องกรอกรายละเอียดส่งเลขานุการคณะกรรมการความปลอดภัย (อ.พุทธรักษา) โดยเร็ว

ท้ายที่สุดจากผลการตรวจติดตามห้องปฏิบัติการครั้งที่ 2/2556 มีบางห้องปฏิบัติการยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทางคณะกรรมการความปลอดภัยฯ จึงขอให้เร่งปรับปรุงและยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้เทียบเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนหลายๆห้องปฏิบัติการมีการจัดการด้านความปลอดภัยได้ดีเยี่ยม ตัวอย่างเช่นห้องปฏิบัติการ MHMK 1243 ของกลุ่มวิจัยศ.ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล มีการแยกจัดเก็บของเสียอย่างเป็นระเบียบและชัดเจน ทางคณะกรรมการความปลอดภัยฯ จึงขอชื่นชมมา ณ โอกาสนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรสถานที่เก็บที่มิดชิด และไม่สะสมของเสียมากเกินไปโดยการส่งกำจัดอย่างสม่ำเสมอ และควรหาถาดมารองรับขวดสารเคมีที่เป็นของเหลวเพื่อรองรับกรณีสารหกรั่วไหลเนื่องจากขวดแตก ก็จะสมบูรณ์แบบ

ภาพห้องปฏิบัติการ MHMK 1243

Description: 1795788_704983376209014_2134906677_n.jpgDescription: 1625580_704983016209050_1516992622_n.jpg

ระบบการจัดเก็บของเสียมีการแยกชัดเจน เช่น Organic Waste หรือ Inorganic Waste

สถานที่จัดเก็บบริเวณระเบียง มีระบบระบายอากาศที่ดี

Description: 1890999_704982922875726_1141691927_n.jpgDescription: 1622081_704983786208973_1966998945_n.jpg

มีระบบการจัดการที่ดีและชัดเจนในการจัดการกรณีอุปกรณ์การทดลองแตกชำรุด หรือ ขวดเหลือใช้

          เรื่องสุดท้ายที่อยากฝากไว้คือการทำ ESPReL checklist ใครยังไม่รู้จักลองดูที่ลิงค์นี้ checklist|คำอธิบายเพิ่มเติม และช่วยถามอาจารย์ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการของท่านดูว่าได้ทำหรือยัง ถ้ายังไม่ได้ทำให้ช่วยทำด้วย เป้าหมายสูงสุดของเราคือทุกห้องปฏิบัติการในภาควิชาเคมีและคณะวิทยาศาสตร์จะได้จัดทำเช็คลิสต์นี้เพื่อประเมินสถานภาพความปลอดภัยของตนเองจะได้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อไป ตอนนี้แล็บไหนไม่ทำเช็คลิสต์นี้จะไม่สามารถส่ง waste เพื่อกำจัดผ่านระบบของ WasteTrack ได้แล้ว จึงขอให้เร่งดำเนินการด้วย

                                                                             คณะกรรมการความปลอดภัย ภาควิชาเคมี

                                                                                         พฤษภาคม 2557