สารยับยั้งเอนไซม์แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรสจากรากมะสัง Feroniella lucida

นางสาวฉลวยลักษณ์ ภูพิชญนันท์ นิสิตปริญญาโทสายวิชาเคมีอินทรีย์ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้านร่วมประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 33 (วทท 33) ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2550

       ในการประชุมดังกล่าว นางสาวฉลวยลักษณ์ ได้นำเสนอการค้นพบสารยับยั้งเอนไซม์แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรส (acetylcholinesterase inhibitors) จากรากมะสัง Feroniella lucida แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรสเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการสลายตัวของสารสื่อประสาทภายในสมองหรือแอซีทิลโคลีน ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อความจำของคน หากสารสื่อประสาทนี้มีปริมาณน้อยลงจะส่งผลให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ หรือที่เรียกว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) จากการศึกษาที่ผ่านมา สามารถแยก furanocoumarin glycoside ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ 4 ชนิด

        Feronielloside (1) เป็นสารประกอบชนิดใหม่ที่ยังไม่มีรายงานมาก่อน โครงสร้างของสารได้รับการพิสูจน์ด้วยข้อมูลทางสเปกโทรสโกปีร่วมกับการวิเคราะห์ทางเคมี สำหรับการจัดเรียงตัวของ chiral center ที่ตำแหน่ง C-2” ยืนยันโดยวิธีของ Mosher Feronielloside (1) ไปทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรส ด้วยค่า IC50 16.9 มิลลิโมลาร์ 

        ท่านสามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ปรีชา ภูวไพรศิริศาล หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพ 10330 โทรศัพท์ 0-2218-7624 โทรสาร 0-2218-7598 e-mail: Preecha.P@Chula.ac.th