สารยับยั้งโคลีนเอสเทอเรสจากเปลือกจันทน์ชะมด Mansonia gagei Drumm.

น.ส.นิษา ช้างวงศ์ นิสิตปริญญาโทชั้นปีที่ 3 สายวิชาเคมีอินทรีย์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าร่วมประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งที่ 33 (วทท. 33) ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 18-20 ตุลาคม 2550

      อัลไซเมอร์ เป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุในอนาคตโรคอัลไซเมอร์จะเป็นปัญหาสำคัญของประเทศชาติเนื่องจากจะมีจำนวนผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์มากขึ้น ด้วยเหตุนี้แพทย์ทั่วโลกจึงให้ความสนใจศึกษาและวิจัยโรคอัลไซเมอร์กันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันหรือรักษา โดยปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ มีเพียงยาที่ช่วยควบคุมและบรรเทาอาการได้ในระยะสั้นๆ เมื่อมีอาการมากขึ้นยาก็จะใช้ไม่ได้ผล

      จากการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสเบื้องต้น พบว่าสิ่งสกัดไดคลอโรมีเทนเปลือกจันทน์ชะมดแสดงฤทธิ์ที่น่าสนใจ จึงได้ทำการแยกสารออกฤทธิ์จากสิ่งสกัดนี้ พบสารคูมาริน 3 ชนิด ได้แก่ Mansorins A (1), B (2) และ C (3) แสดงฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรสได้แก่แอซีทิลโคลีนเอสเทอเรส (AChE) และบิวทีริวโคลีนเอสเทอเรส (BuChE) ที่ปริมาณ 7.8 ×10-3 ไมโครกรัม โดยวิธี TLC bioautography assay           

        ท่านสามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ ดร.พัฒทรา สวัสดี หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 10330 โทรศัพท์ 0-2218-7624 โทรสาร 0-2218-7598 e-mail: p_tiew@hotmail.com