สารต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดจากมะสัง

ปรีชา ภูวไพรศิริศาล,1 เสริม สุรพินิจ, 1 รัตติมา จีนาพงษา2 และ สันติ ทิพยางค์1

Preecha.p@chula.ac.th

1หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  2คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

      โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยที่เป็นโรค 
นี้จะมีผนังหลอดเลือดหัวใจตีบตันเนื่องจากการเกาะตัวของเกล็ดเลือด
(platelet aggregation) ในรายที่มีอาการรุนแรง
จะเสียชีวิตเฉียบพลันหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  ปัจจุบันแพทย์นิยมให้ยาละลายเกล็ดเลือด เช่น
aspirin, ibuprofen และ heparin เพื่อลดการอุดตันในหลอดเลือด คณะผู้วิจัยได้ศึกษาสารกลุ่ม furanocoumarin จากรากมะสัง

(Feroniella lucida) ในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด การทดลองโดยใช้เกล็ดเลือดของอาสาสมัครพบว่า feroniellin B ซึ่งเป็นสารชนิดใหม่ที่แยกได้จากรากมะสังสามารถยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดได้ดีกว่ายา ibuprofen ถึง 39 เท่า นอกจากนี้ สารกลุ่ม furanocoumarin สามารถยับยั้งการเกิด lipedperoxidation ได้ดีเทียบเท่ากับ a-tocopherol ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสารกลุ่มดังกล่าวมีแนวโน้มในการนำมาพัฒนาเป็นยารักษาโรคหัวใจขาดเลือด และสามารถป้องกันการกลับมาเกิดโรคซ้ำได้อีก

        การยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดย (a) feroniellin B และ (b) ยา ibuprofen จากกราฟ สาร feroniellin B ที่ความเข้มข้นเพียง 0.352 mM ให้ผลการยับยั้งเทียบเท่ากับการใช้ยา ibuprofen ที่ความเข้มข้น 11.40 mM *

เอกสารอ้างอิง [1] Phuwapraisirisan, P.; Surapinit, S.; Sombund, S.; Siripong. P.; Tip-pyang, S. Tetrahedron Lett. 2006,
                            47
, 3685-3688.

                 [2] Phuwapraisirisan, P.; Surapinit, S.; Tip-pyang, S. Phytother. Res. 2006, 20, 708-710.